วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คำผวน


คำผวน เป็น วิธีการสลับคำ โดยใช้ สระ และ ตัวสะกด ของ พยางค์หน้า และ พยางค์สุดท้าย มาสลับกัน ทำให้เกิดคำใหม่ที่อาจไม่มีความหมาย แต่การออกเสียงจะคล้องจองกับรูปเดิม ทำให้สื่อความหมายกันได้ คำผวนนั้นนิยมใช้กับคำสองหรือสามพยางค์เป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถสลับตำแหน่งได้ง่าย คำพยางค์เดียวนั้นไม่สามารถผวนได้ ส่วนคำหลายพยางค์ อาจต้องแยกเป็นส่วนๆ ไม่สามารถสลับตำแหน่งอย่างคำน้อยพยางค์ วิธีการสร้างคำผวน เรียกว่า "ผวน" หรือ "การผวนคำ"
หลักทั่วไปของการผวนคำ
1.คำผวนเป็นการเล่นทางภาษาอย่างหนึ่งในภาษาไทย ที่ใช้วิธีการผวนคำ หรือสลับตำแหน่งของเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ในคำสองพยางค์ขึ้นไป
2.การสลับตำแหน่งที่สมบูรณ์จะเกิดขึ้นกับคำสองพยางค์ เช่น ดำเนิน - เดินนำ ในที่นี้ พยัญชนะต้นของทั้งสองพยางค์ยังคงตำแหน่งเดิม แต่สลับเสียงสระ (พร้อมเสียงรรณยุกต์และตัวสะกด) คือ สลับ ระหว่าง สระ "อำ" กับสระ "เอิน"
3.ในคำ 3 พยางค์ การผวนจะยุ่งยาก จึงอาจเลือกที่จะผวนเฉพาะบางคู่ของพยางค์ เช่น สวัสดี (สะ-หวัด-ดี) มักเลือกผวนเฉพาะ พยางค์ที่สองและสาม คือ หวัด (สระ "อะ" เสียงเอก+ตัวสะกด "กด") -ดี (สระ "อี" เสียงสามัญ ตัวสะกดไม่มี) -> วี (สระ "อี" เสียงสามัญ ตัวสะกดไม่มี) - ดัด (สระ "อะ" เสียงเอก + ตัวสะกด "กด")
4.คำ 4 พยางค์ขึ้นไป ไม่นิยมผวนคำ
คำผวนเป็นการเล่นเสียงเพื่อความสนุกสนาน บางคนนิยมใช้ผวนคำหยาบเรื่องเพศ เป็นการเลี่ยงที่จะเอ่ยถึงคำหยาบนั้นตรงๆ หรือผวนคำเป็นปริศนา ซึ่งนิยมกันมากในปริศนาคำกลอนที่เรียกว่า ผะหมี นอกจากนี้ ยังมีนักเขียนจำนวนไม่น้อย ใช้การผวนชื่อจริง เพื่อนำมาใช้เป็นนามปากกา

ตัวอย่างคำผวน
ทั่วไป
•อรีด่อย = อร่อยดี (คำ 3 พยางค์, ผวนเฉพาะสองพยางค์หลัง)
•สวีดัด = สวัสดี (คำ 3 พยางค์, ผวนเฉพาะสองพยางค์หลัง)
•ก่างไย่ (ก้างใหญ่) = ไก่ย่าง
•จอเข็บ = เจ็บคอ
•ทรายบันหยุด = สุดบรรยาย

นามปากกาหรือชื่อคน
•จักร ภูมิสิทธิ์ (นามปากกาของ จิตร ภูมิศักดิ์)
•ธนา วงศ์ญาณณาเวช (นามปากกาของ ธเนศ วงศ์ยานนาวา)
•โต้ ชีริก (ติ๊ก ชีโร่)
•คิดลึก (คึกฤทธิ์ ปราโมช)

วรรณกรรมที่แต่งด้วยคำผวน
•สรรพลี้หวน
•ซันเก๊ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น