วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553


จุก = พระโมฬี นม = พระถัน, พระเต้า

หน้าผาก = พระนลาฎ ท้อง = พระอุทร

ฟัน = พระทนต์ เอว = บั้นพระองค์, พระกฤษฎี

ลิ้น = พระชิวหา หลัง = พระขนอง

นิ้วมือ = พระองคุลี บ่า = พระอังสะ

นิ้วชี้ = พระดรรชนี ขนระหว่างคิ้ว = พระอุณาโลม

เงา = พระฉายา จอนหู = พระกรรเจียก

ผิวหน้า = พระราศี จมูก = พระนาสิก

ปอด = พระปับผาสะ ปาก = พระโอษฐ์

คาง = พระหนุ อก = พระอุระ, พระทรวง

หู = พระกรรณ รักแร้ = พระกัจฉะ

ดวงหน้า = พระพักตร์ สะดือ = พระนาภี

อุจจาระ = พระบังคนหนัก น้ำตา = น้ำพระเนตร,

ต้นขา = พระอุรุ พระอัสสุชล

หัวเข่า = พระชานุ ต้นแขน = พระพาหุ

แข้ง = พระชงฆ์ ข้อมือ = ข้อพระหัตถ์

ผิวหนัง = พระฉวี ข้อเท้า = ข้อพระบาท

คิ้ว = พระขนง ปัสสาวะ = พระบังคนเบา

ลิ้นไก่ = มูลพระชิวหา ไรฟัน = ไรพระทนต์

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สระ


เสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน

สระเดี่ยว คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง

ลิ้นส่วนหน้า ลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียด ปากเหยียด ปากห่อ
สั้น ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว
ลิ้นยกสูง /i/
–ิ /i?/
–ี /?/
–ึ /??/
–ื /u/
–ุ /u?/
–ู
ลิ้นกึ่งสูง /e/
เ–ะ /e?/
เ– /?/
เ–อะ /??/
เ–อ /o/
โ–ะ /o?/
โ–
ลิ้นกึ่งต่ำ /?/
แ–ะ /??/
แ– /?/
เ–าะ /??/
–อ
ลิ้นลดต่ำ /a/
–ะ /a?/
–า

สระเดี่ยว


สระประสม

สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้

•เ–ีย /ia?/ ประสมจากสระ อี และ อา
•เ–ือ /?a?/ ประสมจากสระ อือ และ อา
•–ัว /ua?/ ประสมจากสระ อู และ อา
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น

สระเสียงสั้น สระเสียงยาว สระเกิน
ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด
–ะ –ั–¹ –า –า– –ำ (ไม่มี)
–ิ –ิ– –ี –ี– ใ– (ไม่มี)
–ึ –ึ– –ือ –ื– ไ– ไ––?
–ุ –ุ– –ู –ู– เ–า (ไม่มี)
เ–ะ เ–็– เ– เ–– ฤ, –ฤ ฤ–, –ฤ–
แ–ะ แ–็– แ– แ–– ฤๅ (ไม่มี)
โ–ะ –– โ– โ–– ฦ, –ฦ ฦ–, –ฦ–
เ–าะ –็อ– –อ –อ–² ฦๅ (ไม่มี)
–ัวะ (ไม่มี) –ัว –ว–
เ–ียะ (ไม่มี) เ–ีย เ–ีย–
เ–ือะ (ไม่มี) เ–ือ เ–ือ–
เ–อะ (ไม่มี) เ–อ เ–ิ–³, เ–อ–?

สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้

•–ำ /am, a?m/ ประสมจาก อะ + ม (อัม) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม)
•ใ– /aj, a?j/ ประสมจาก อะ + ย (อัย) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)
•ไ– /aj, a?j/ ประสมจาก อะ + ย (อัย) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)
•เ–า /aw, a?w/ ประสมจาก อะ + ว (เอา) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว)
•ฤ /r?/ ประสมจาก ร + อึ (รึ) บางครั้งเปลี่ยนเป็น /ri/ (ริ) หรือ /r??/ (เรอ)
•ฤๅ /r??/ ประสมจาก ร + อือ (รือ)
•ฦ /l?/ ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
•ฦๅ /l??/ ประสมจาก ล + อือ (ลือ)
บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ

สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา

¹ คำที่สะกดด้วย –ะ + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
² คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี
³ คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– ดังนั้นคำที่สะกดด้วย เ– + ย จึงไม่มี
? พบได้น้อยคำเท่านั้นเช่น เทอญ เทอม
? มีพยัญชนะสะกดเป็น ย เท่านั้น เช่น ไทย ไชย

วรรณยุกต์


เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่

•เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
•เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
•เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
•เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
•เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)
ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่

•ไม้เอก ( -่ )
•ไม้โท ( -้ )
•ไม้ตรี ( -๊ )
•ไม้จัตวา ( -๋ )
ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สระจม - สระลอย


ในภาษาบาลี - สันสกฤต หรือภาษาเขมรนั้นจะมีรูปสระที่ใช้กัน ๒ แบบคือ

สระจม และสระลอย

สระจมหมายถึงสระที่ใช้ประสมกับพยัญชนะ ส่วนในสระลอยไม่ต้องประสมพยัญชนะ

สำหรับสระของไทยนั้น ส่วนใหญ่จะใช้สระจม เพราะต้องประสมพยัญชนะ จะมีสระลอย

ก็เฉพาะที่ยืมมาจากภาษาบาลี - สันสกฤต สระลอยของไทยมีอยู่ ๒ พวก คือ

- ที่มีรูปเฉพาะตัว ได้แก่ ฤ ฤา ฦ ฦา

- รูปที่มีตัว อ เป็นทุ่นเกาะยึด อา อี เอ โอ ไอ

ลักษณนามที่ควรรู้


กฎหมาย // ฉบับ
กรรไกร // เล่ม
กระด้ง // ใบ ลูก
กระดาน // แผ่น
กระป๋อง // ใบ
กรับ // คู่
กล่องไม้ขีดไฟ // กล่อง กลัก
กากะเยีย // ชุด สำรับ
กางเกง // ตัว
กาพย์ // บท
กำไล // วง
กีตาร์ // ตัว
เกวียน // เล่ม
เกาทัณฑ์ // คัน
ขน // เส้น
ขนมจีน // จับ
ขลุ่ย // เลา
ขมิ้น // แง่ง
ของ้าว // เล่ม
ข่า // แง่ง
ข้าวตอก // ดอก
ข้าวโพด // ฝัก
ขิม // ตัว
ขีปนาวุธ // ลูก
เขียงหมู // เขียง
ไข่ // ฟอง
ไข่มุก // เม็ด
คทา // เล่ม อัน
คลื่น // ลูก
แคน // เต้า
คัมภีร์ใบลาน // ผูก
โคลง // บท
งาช้าง // กิ่ง
จิต // ดวง
เจดีย์ // องค์
ฉันท์ // บท
ชอล์ก // แท่ง
ช้างบ้าน // เชือก
ช้างป่า // ตัว
ช้างทรง // ช้าง
ซอ // คัน
ซึง // คัน
สามเณร // รูป
ดินสอ // แท่ง
ตะกร้อ // ลูก
ตาลปัตร // เล่ม
ตะกร้อ // ใบ
ไต้ฝุ่น // ลูก
ถ้ำยาดม // ถ้ำ
เทวรูป // องค์
ธนบัตร // ฉบับ
ธนู // คัน
ธรรมจักร // วง
ธูป // ดอก
นาฬิกา // เรือน
บัตรประชาชน // ฉบับ
บาตร // ใบ ลูก
บุหรี่ // มวน
ปิ่นโต // เถา
ปี่ // เลา
ปืน // กระบอก
ผี // ตน
เผือก // หัว
ฝี // หัว
พัด // เล่ม
พิมเสน // เกร็ด
ฟัน // ซี่
ภูเขา // ลูก
เมฆ // ก้อน
ร่ม // คัน
ลูกระนาด // ลูก
ระนาด // ผืน
เรือ // ลำ
ลิปสติก // แท่ง
เลื่อม // เกล็ด
เลื่อย // ปื้น
ว่าว // ตัว
เสลี่ยง // คัน
หวี // เล่ม
อวน // ปาก

หลักการอ่าน ฤ


เสียง ฤ ในภาษาไทย อ่านได้เป็น ๓ เสียง
คือ ริ รึ เรอ โดยมีหลักการสังเกตดังนี้
คำที่มี ฤ นำหน้ามักออกเสียงเป็น รึ
ฤชุ อ่านว่า รึ - ชุ
ฤทัย อ่านว่า รึ - ทัย
ฤคเวท อ่านว่า รึ - คะ - เวด
ฤกษณะ อ่านว่า รึก - สะ - นะ ( การเห็น )
ฤดี อ่านว่า รึ - ดี
ฤษภ อ่านว่า รึ - สบ
ฤชา อ่านว่า รึ - ชา
ฤษี อ่านว่า รึ - สี
ยกเว้นบางคำที่ ฤ นำหน้าแต่อ่านเป็น ริ เช่น
ฤทธิ์ อ่านว่า ริด
ฤษยา อ่านว่า ริด - สะ - หยา
ฤณ อ่านว่า ริน
คำที่ออกเสียงเป็น เรอ มีเพียงคำเดียว คือ
ฤกษ์ อ่านว่า เริก
คำที่มี ฤ ตามหลัง ค น พ ม ห แล้วอ่านเป็น รึ เช่น
คฤโฑษ อ่านว่า ครึ - โทด
คฤหัสถ์ อ่านว่า ครึ - หัด
คฤหาสน์ อ่านว่า คะ - รึ -หาด
นฤบดี อ่านว่า นะ - รึ - บอ -ดี
นฤนาท อ่านว่า นะ - รึ - นาด
นฤคหิต อ่านว่า นะ - รึ -คะ -หิด
พฤฒาจารย์ อ่านว่า พรึด - ทา - จาน
พฤฒิ อ่านว่า พรึด - ทิ
หฤโหด อ่านว่า หะ - รึ -โหด
หฤหรรษ์ อ่านว่า หะ - รึ - หัน
ยกเว้นคำเหล่านี้อ่านเป็น ริ
มฤจฉา อ่านว่า มะ - ริด - ฉา
นฤตยศาลา อ่านว่า นรึด - ตะ - ยะ - ศา - ลา
คำที่มี ฤ ตามหลัง ก ต ท ป ศ ส แล้ว อ่านเป็น ริ
กฤติกา อ่านว่า กริด - ติ -กา
ตฤน อ่านว่า ตริน
ตฤษณา อ่านว่า ตริ - สะ - นา
ทฤษฎี อ่านว่า ทริด - สะ -ดี
กฤตยา อ่านว่า กริด - ติ - ยา
ปฤษฎางค์ อ่านว่า ปริด - สะ - ดาง
ยกเว้นคำต่อไปนี้อ่าน รึ
ทฤฆายุ อ่านว่า ทรึ - คา - ยุ
ทฤฆชนม์ อ่านว่า ทรึ - คะ - ชน

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คำผวน


คำผวน เป็น วิธีการสลับคำ โดยใช้ สระ และ ตัวสะกด ของ พยางค์หน้า และ พยางค์สุดท้าย มาสลับกัน ทำให้เกิดคำใหม่ที่อาจไม่มีความหมาย แต่การออกเสียงจะคล้องจองกับรูปเดิม ทำให้สื่อความหมายกันได้ คำผวนนั้นนิยมใช้กับคำสองหรือสามพยางค์เป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถสลับตำแหน่งได้ง่าย คำพยางค์เดียวนั้นไม่สามารถผวนได้ ส่วนคำหลายพยางค์ อาจต้องแยกเป็นส่วนๆ ไม่สามารถสลับตำแหน่งอย่างคำน้อยพยางค์ วิธีการสร้างคำผวน เรียกว่า "ผวน" หรือ "การผวนคำ"
หลักทั่วไปของการผวนคำ
1.คำผวนเป็นการเล่นทางภาษาอย่างหนึ่งในภาษาไทย ที่ใช้วิธีการผวนคำ หรือสลับตำแหน่งของเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ในคำสองพยางค์ขึ้นไป
2.การสลับตำแหน่งที่สมบูรณ์จะเกิดขึ้นกับคำสองพยางค์ เช่น ดำเนิน - เดินนำ ในที่นี้ พยัญชนะต้นของทั้งสองพยางค์ยังคงตำแหน่งเดิม แต่สลับเสียงสระ (พร้อมเสียงรรณยุกต์และตัวสะกด) คือ สลับ ระหว่าง สระ "อำ" กับสระ "เอิน"
3.ในคำ 3 พยางค์ การผวนจะยุ่งยาก จึงอาจเลือกที่จะผวนเฉพาะบางคู่ของพยางค์ เช่น สวัสดี (สะ-หวัด-ดี) มักเลือกผวนเฉพาะ พยางค์ที่สองและสาม คือ หวัด (สระ "อะ" เสียงเอก+ตัวสะกด "กด") -ดี (สระ "อี" เสียงสามัญ ตัวสะกดไม่มี) -> วี (สระ "อี" เสียงสามัญ ตัวสะกดไม่มี) - ดัด (สระ "อะ" เสียงเอก + ตัวสะกด "กด")
4.คำ 4 พยางค์ขึ้นไป ไม่นิยมผวนคำ
คำผวนเป็นการเล่นเสียงเพื่อความสนุกสนาน บางคนนิยมใช้ผวนคำหยาบเรื่องเพศ เป็นการเลี่ยงที่จะเอ่ยถึงคำหยาบนั้นตรงๆ หรือผวนคำเป็นปริศนา ซึ่งนิยมกันมากในปริศนาคำกลอนที่เรียกว่า ผะหมี นอกจากนี้ ยังมีนักเขียนจำนวนไม่น้อย ใช้การผวนชื่อจริง เพื่อนำมาใช้เป็นนามปากกา

ตัวอย่างคำผวน
ทั่วไป
•อรีด่อย = อร่อยดี (คำ 3 พยางค์, ผวนเฉพาะสองพยางค์หลัง)
•สวีดัด = สวัสดี (คำ 3 พยางค์, ผวนเฉพาะสองพยางค์หลัง)
•ก่างไย่ (ก้างใหญ่) = ไก่ย่าง
•จอเข็บ = เจ็บคอ
•ทรายบันหยุด = สุดบรรยาย

นามปากกาหรือชื่อคน
•จักร ภูมิสิทธิ์ (นามปากกาของ จิตร ภูมิศักดิ์)
•ธนา วงศ์ญาณณาเวช (นามปากกาของ ธเนศ วงศ์ยานนาวา)
•โต้ ชีริก (ติ๊ก ชีโร่)
•คิดลึก (คึกฤทธิ์ ปราโมช)

วรรณกรรมที่แต่งด้วยคำผวน
•สรรพลี้หวน
•ซันเก๊ก

ภาษาคาราโอเกะ


ปัญหาภาษาไทยที่มีผู้โทรศัพท์สอบถาม
มายังราชบัณฑิตยสถานบ่อยครั้ง คือ
การขอให้ช่วยเขียนภาษาคาราโอเกะ
เมื่อได้ฟังรายละเอียดจากผู้ถามจึงได้ทราบว่า
สิ่งที่ต้องการให้ช่วยก็คือการเขียนเนื้อเพลง
ภาษาไทยให้เป็นอักษรโรมันนั่นเอง
โดยปรกติ แผ่นซีดีคาราโอเกะจะมีเนื้อเพลง
ปรากฏบนจอเพื่อให้ร้องตามได้
ซีดีคาราโอเกะที่ต้องการเอาใจชาวต่างชาติ
โดยเฉพาะเพลงที่ดัง ๆ นอกจากจะมีเนื้อเพลงไทยแล้ว
ยังมีคำอ่านที่เป็นอักษรโรมันกำกับไว้
เพื่อให้ชาวต่างชาติร้องตามได้อีกด้วย
คำตอบเกี่ยวกับวิธีเขียนภาษาคาราโอเกะ
คือการแนะนำให้ใช้หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทย
เป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
ที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดขึ้นและประกาศใช้
ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๒
หลักเกณฑ์นี้ใช้วิธีถ่ายเสียง (tran scription)
เพื่อให้อ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมัน
ให้ได้เสียงใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึง
การสะกดการันต์และวรรณยุกต์
เช่น จันทร์ = chan, พระ = phra, แก้ว = kaeo
ในหลักเกณฑ์ได้เทียบเสียงพยัญชนะ และสระ
ไว้อย่างละเอียด รวมทั้งหลักในการถอดคำประเภทต่าง ๆ
ตัวอย่างการเทียบเสียงพยัญชนะ เช่น
ป = p เมื่อเป็นทั้งตัวต้นและตัวสะกด
ฏ, ต = t เมื่อเป็นทั้งตัวต้นและตัวสะกด
ก = k เมื่อเป็นทั้งตัวต้นและตัวสะกด
ผ, พ, ภ = ph เมื่อเป็นตัวต้น
และเป็น p เมื่อเป็นตัวสะกด
ฐ, ฑ, ฒ, ถ, ท, ธ = th เมื่อเป็นตัวต้น
และเป็น t เมื่อเป็นตัวสะกด
ข, ฃ, ค, ฅ, ฆ = kh เมื่อเป็นตัวต้น
และเป็น k เมื่อเป็นตัวสะกด
บ = b เมื่อเป็นตัวต้นและเป็น p เมื่อเป็นตัวสะกด
ฎ, ฑ (เสียง ด) ด = d เมื่อเป็นตัวต้น
และเป็น t เมื่อเป็นตัวสะกด
ตัวอย่างการเทียบเสียงสระ เช่น
สระอะ, -ั (อะลดรูป), รร (มีตัวสะกด), อา = a
สระอิ, อี = i
สระอุ, อู = u
สระโอะ, - (โอะ ลดรูป), โอ, เอาะ, ออ = o
ภาษาคาราโอเกะของเนื้อเพลงดังท่อนหนึ่ง
เมื่อเขียนตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน
จะเป็นดังนี้
“นับเป็นช่วงชีวิตที่ดีที่สุด
แม้เป็นแค่เพียงเวลาสั้น ๆ
แต่ก็เคยเกิดขึ้นกับฉัน เพราะเธอ”
เขียนเป็นภาษาคาราโอเกะแล้ว
ก็จะเป็นแบบนี้
“Nap pen chuang chiwit thi di thi sut
mae pen khae phiang wela san san
tae ko khoei koet khuen kap chan phro thoe”.

หลักการท่องจำ ก-ฮ


ผมเชื่อว่าหลายๆคนที่กำลังอ่านอยู่นี่ คงจะมีปัญหาในการจำก.ไก้ถึงฮ.นกฮูก

ผมก็เหมือนครับ พยายามหาวิธีการทำอยู่หลายแบบ แต่ก็ไม่สามารถทำให้ผมจำได้เสียที

วันนี้ผมลองเอาวิธีการของผมมาเสนอครับ เผื่อใครสนใจจะได้นำไปใช้ในการท่องจำ หรืออย่างน้อยก็ช่วยให้รู้ลำดับตัวอักษรมากขึ้้น

หลักการของผมเอามาจากพยัญชนะวรรคของภาษาบาลี โดยจะแบ่งเป็นวรรคๆดังนี้

วรรคที่ 1 ก ข ค ฆ ง

วรรคที่ 2 จ ฉ ช ฌ ญ

วรรคที่ 3 ฏ ฐ ฑ ฒ ณ

วรรคที่ 4 ต ถ ท ธ น

วรรคที่ 5 ป ฝ พ ภ ม

เศษวรรค ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ


เวลาท่อง ให้ท่องด้วยเสียง -ะ ลงท้ายแต่ละตัว เช่น วรรคแรกก็จะเป็น

ก ะ ข ะ ค ะ ฆ ะ ง ะ

ท่องอย่างนี้ไปทุกวรรค (ใช้เสียงช่วยในการจำ)

พอมาถึงตรงนี้ หลายคนก็จะเริ่มเกิดคำถามแล้วว่า วรรค 3 กับ 4 เสียงเหมือนกันจำยังไงดี

ผมจำว่า วรรค 3 คือวรรค "ฏะ" ใหญ่ >> มีแต่ตัวมีหยักเพราะแก่แล้ว

ส่วนวรรค 4 คือวรรค "ตะ" เล็ก >> ตัวธรรมดาเยอะหน่อย

ส่วนเศษวรรค ให้ท่องอย่างนี้ครับ

"ยอ รอ ลอ วอ ศอ 3 หอ ฬอ จุฬา อ อ่าง ฮ นกฮูก"

ส่วน ศอ3 คงต้องไปหาเทคนิคกันเอาเองว่าจะจำกันอย่างไร

แต่...เอ ถ้านับจากข้างบนแล้วมันยังไม่ครบนิ ที่เหลืออีก 8 ตัวเราจะทำยังดีละเนี่ย

ไม่ยากเลยครับ ให้เราเอาพยัญชนะวรรคที่ท่องได้แล้วมาเขียนดูครับ แล้วเติมตัวที่มีคู่เข้าไป (ใช้เซนเลยครับ)

วรรคที่ 1 ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง

วรรคที่ 2 จ ฉ ช ซ ฌ ญ

วรรคที่ 3 ฏ ฐ ฑ ฒ ณ

วรรคที่ 4 ด ต ถ ท ธ น

วรรคที่ 5 บ ป ผ ฝ พ ภ ม

เศษวรรค ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ


เป็นไงครับ วิธีผมอาจจะดูยุ่งยากไปบ้าง แต่ผมว่าท่องไว้ให้ชินปาก แล้วมันจะช่วยให้เราจำลำดับของอักษรไทยได้อย่างไม่อยากเลยครับ

ปล. เข้าไปดูบลอคคนอื่น เห็นเอาวิดีโอยูทูปอันหนึ่งมาลงไว้ เห็นว่าเข้ากับหัวข้อของผมพอดี เลยเอามาลงซะหน่อยครับ

อาจจะมีถ้อยคำไม่เหมาะสมสำหรับเด็กนะครับ เด็กๆควรมีผู้ใหญ่ดูด้วยนะ
ผมว่านี่ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ดีนะครับ ดูการ์ตูนชุดนี้ทำให้ผมนึกภาพพยัญชนะไทยออกมาเป็นฉากๆเลยว่าตัวไหนจะอยู่ก่อนหรือหลัง หรืออยู่ใกล้ๆกับตัวอะไร ผมขอปรบมือให้กับผู้สร้างและทีมงานทุกท่าน ที่สามารถผลิตVDOชุดนี้ออกมาเป็นผลสำเร็จ ลองดูกันนะครับ

http://www.youtube.com/watch?v=KhUTOV24BS4&feature=player_embedded

คำพังเพย


คำพังเพย
คำพังเพย คือ ถ้อยอุปมาที่กล่าวกระทบเสียดสี ซึ่งมาจากเหตุการณ์เรื่องราวหรือ
ความเป็นไปในวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อนเป็นสิ่งควรค่าแก่การเรียนรู้ และจดจำเป็นอย่างยิ่ง
ตัวอย่างเช่น

ขว้างงูไม่พ้นคอ
A bad penny always comes back
สิ่งไม่ดีที่เราพยายามกำจัดมักจะวกกลับมาอีก

ปากปราศรัยใส (น้ำใจ) เชือดคอ
A honey tongue , a heart of gall

พูดดีแต่ปาก แต่ใจคิดร้าย
รู้อย่างเป็ด
A jack of all trades is master of none
ไม่ควรรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง แต่ไม่รู้จริงสักอย่าง

ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง
All that glitter is not gold
ข้างนอกอาจจะดูดี มีค่า แต่ข้างในหรือตามความเป็นจริงแล้ว มิได้ดีตามที่เห็น

น้ำกลิ้งบนใบบอน
A rolling stone gathers no moss
ใจโลเล ใจไม่แน่นอน เปลี่ยนไปอยู่เรื่อย ๆ

หว่านพืชใดได้ผลอย่างนั้น
As you Sow, So (shall)
ทำสิ่งใดย่อมได้สิ่งนั้นตอบสนอง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
Better bend than break
อย่าขัดขวางหรือขัดแย้งกับผู้มีอำนาจ เพราะไม่เกิดประโยชน์ใด

ปลาใหญ่กินปลาเล็ก
Big fish eat little fish
ผู้มีอำนาจมากกว่ากดขี่ข่มเหงผู้ที่อ่อนแอกว่า

อย่าเห็นขี้ดีกว่าไส้
Blood is thicker than water
อย่าเห็นคนอื่นดีกว่าญาติพี่น้องลูกหลานของตน

ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
Constant dropping wears away the stone
ความเพียรพยายาม ทำให้ประสบผลสำเร็จ

ภาษาไทยเดินทางมาอย่างไร


ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย
คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า 'การลากคำเข้าวัด' ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว ย เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง