วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สระ


เสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน

สระเดี่ยว คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง

ลิ้นส่วนหน้า ลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียด ปากเหยียด ปากห่อ
สั้น ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว
ลิ้นยกสูง /i/
–ิ /i?/
–ี /?/
–ึ /??/
–ื /u/
–ุ /u?/
–ู
ลิ้นกึ่งสูง /e/
เ–ะ /e?/
เ– /?/
เ–อะ /??/
เ–อ /o/
โ–ะ /o?/
โ–
ลิ้นกึ่งต่ำ /?/
แ–ะ /??/
แ– /?/
เ–าะ /??/
–อ
ลิ้นลดต่ำ /a/
–ะ /a?/
–า

สระเดี่ยว


สระประสม

สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้

•เ–ีย /ia?/ ประสมจากสระ อี และ อา
•เ–ือ /?a?/ ประสมจากสระ อือ และ อา
•–ัว /ua?/ ประสมจากสระ อู และ อา
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น

สระเสียงสั้น สระเสียงยาว สระเกิน
ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด
–ะ –ั–¹ –า –า– –ำ (ไม่มี)
–ิ –ิ– –ี –ี– ใ– (ไม่มี)
–ึ –ึ– –ือ –ื– ไ– ไ––?
–ุ –ุ– –ู –ู– เ–า (ไม่มี)
เ–ะ เ–็– เ– เ–– ฤ, –ฤ ฤ–, –ฤ–
แ–ะ แ–็– แ– แ–– ฤๅ (ไม่มี)
โ–ะ –– โ– โ–– ฦ, –ฦ ฦ–, –ฦ–
เ–าะ –็อ– –อ –อ–² ฦๅ (ไม่มี)
–ัวะ (ไม่มี) –ัว –ว–
เ–ียะ (ไม่มี) เ–ีย เ–ีย–
เ–ือะ (ไม่มี) เ–ือ เ–ือ–
เ–อะ (ไม่มี) เ–อ เ–ิ–³, เ–อ–?

สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้

•–ำ /am, a?m/ ประสมจาก อะ + ม (อัม) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม)
•ใ– /aj, a?j/ ประสมจาก อะ + ย (อัย) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)
•ไ– /aj, a?j/ ประสมจาก อะ + ย (อัย) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)
•เ–า /aw, a?w/ ประสมจาก อะ + ว (เอา) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว)
•ฤ /r?/ ประสมจาก ร + อึ (รึ) บางครั้งเปลี่ยนเป็น /ri/ (ริ) หรือ /r??/ (เรอ)
•ฤๅ /r??/ ประสมจาก ร + อือ (รือ)
•ฦ /l?/ ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
•ฦๅ /l??/ ประสมจาก ล + อือ (ลือ)
บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ

สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา

¹ คำที่สะกดด้วย –ะ + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
² คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี
³ คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– ดังนั้นคำที่สะกดด้วย เ– + ย จึงไม่มี
? พบได้น้อยคำเท่านั้นเช่น เทอญ เทอม
? มีพยัญชนะสะกดเป็น ย เท่านั้น เช่น ไทย ไชย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น